Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร

” Packaging “ เป็นอีกหนึ่งกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะในการผลิตสินค้าหรือการบริการจะต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคและจะต้องทำให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์เริ่มที่จะมีบทบาทเพิ่มมากยิ่งขึ้น การที่เราเน้นบรรจุภัณฑ์จะทำให้สินค้าของเราดูดีและมีความน่าสนใจ

Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง Packing กับ Packaging

Packing

Packing เป็นกระบวนการบรรจุสินค้าเพื่อเตรียมการขนส่งหรือจัดเก็บ ซึ่งการเก็บสินค้าต่างๆ จะเก็บเอาไว้ในกล่องหรือลังเพื่อที่จะได้สต๊อกสินค้าที่ใช้สำหรับการขนส่งเท่านั้น และจะเน้นไปที่การป้องกันความเสียหายและความปลอดภัยของสินค้าเป็นหลัก โดยทั่วไปจะใช้วัสดุที่เหมาะสมในการจัดเก็บ เช่น กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก ถังโลหะ เป็นต้น โดยรูปลักษณ์ภายนอกจะไม่ค่อยเน้นความสวยงามมากนัก แต่จะมุ่งเน้นไปที่ความแข็งแรง ทนทาน เพื่อรักษาสภาพสินค้าระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ

4 ประเภทของ Packing (แพ็คกิ้ง)

1. CARTON (กล่องกระดาษ)
  • เป็นประเภทบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างต่ำและสะดวกต่อการขนย้ายเคลื่อนย้าย
  • เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่ไม่เกิดความเสียหายได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องการการป้องกันการแตกหัก เช่น กล่องบรรจุนม ถาดใส่ไข่
  • สามารถรับน้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่เหมาะสำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมากหรือของที่มีความเปราะบางสูง
2. CASE (ลังไม้แบบโปร่ง)
  • เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีโครงสร้างเป็นเพียงโครงไม้แบบโปร่ง ไม่สามารถป้องกันการทิ่มแทงจากวัตถุภายนอกได้
  • เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่มีน้ำหนักสูงหรือสินค้าที่ทำจากวัสดุโลหะ เช่น เครื่องจักร หิน
  • ใช้สำหรับการขนส่งและจัดเก็บสินค้าที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก
3. CRATE (ลังไม้ทึบ)
  • เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความแข็งแรงสูง สามารถป้องกันการกระแทกได้รอบด้านและรับน้ำหนักได้มาก
  • เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่มีความเปราะบางหรือมีโอกาสเสียหายสูง
  • ใช้สำหรับการขนส่งและจัดเก็บสินค้าที่ต้องการความปลอดภัยสูง
4. PALLET (พาเลทไม้)
  • เป็นฐานรองเลื่อนทำจากไม้ ใช้ร่วมกับบรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นๆ เพื่อความสะดวกในการขนส่ง
  • มีความสะดวกต่อการเคลื่อนย้ายโดยใช้เครื่องทุ่นแรงยกขน สามารถจัดเรียงสินค้าได้เป็นระเบียบ
  • ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานในการขนย้าย เนื่องจากสามารถขนย้ายพร้อมกับสินค้าที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

Packaging

หมายถึง การเป็นภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้า เพื่อปกป้องสินค้าด้านในที่บรรจุลงไปไม่ให้เกิดชำรุดเสียหาย นอกจากนี้แล้ว ” Packaging “ ยังทำมาจากวัสดุได้หลายอย่างหลายประเภทเช่น ทำมาจากกระดาษ พลาสติก แก้ว ไม้ โลหะต่างๆ และยังต้องมีการออกแบบ ” Packaging “ ให้มีประโยชน์ต่อกการเคลื่อนย้ายหรือให้ความสะดวกสบายต่อการหอบหิ้ว พกพาต่างๆ อีกทั้งยังในปัจจุบันนี้ ” Packaging “ ต้องมีการออกแบบที่โดดเด่นสวยงาม เพื่อที่จะสามารถเป็นเครื่องช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า และช่วยกระตุ้นความต้องการซื้อของผู้บริโภคได้อีกด้วย

การเลือกใช้วัสดุสำหรับบรรจุภัณฑ์ (Packaging Material)

1. กระดาษ
  • ข้อดี : ราคาถูก น้ำหนักเบา สามารถพิมพ์ลวดลาย/ข้อความได้สวยงาม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ข้อเสีย : ความแข็งแรงและการป้องกันน้ำ/ความชื้นต่ำกว่าวัสดุอื่น ไม่เหมาะสำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันเป็นพิเศษ
  • เหมาะสำหรับ : สินค้าทั่วไป เช่น เครื่องสำอาง อาหารแห้ง ของใช้ในครัวเรือน
2. พลาสติก
  • ข้อดี : ความแข็งแรง ทนทาน สามารถป้องกันความชื้น/กระแทกได้ดี มีหลากหลายรูปแบบ
  • ข้อเสีย : ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ราคาแพงกว่ากระดาษ
  • เหมาะสำหรับ : สินค้าที่ต้องการการป้องกันเป็นพิเศษ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา เครื่องใช้ไฟฟ้า
3. แก้ว
  • ข้อดี : ทนทาน ป้องกันการปนเปื้อน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • ข้อเสีย : น้ำหนักมาก ราคาแพง การขนส่งและจัดเก็บยุ่งยาก
  • เหมาะสำหรับ : ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการภาพลักษณ์ที่ดู premium
4. โลหะ
  • ข้อดี : ทนทาน ป้องกันการปนเปื้อน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • ข้อเสีย : น้ำหนักมาก ราคาแพง การขนส่งและจัดเก็บยุ่งยาก
  • เหมาะสำหรับ : ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความปลอดภัยสูง
Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำคัญหรือไม่ ?

ในปัจจุบันการออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมากสำหรับผู้ผลิตอย่างเรา เพราะการออกแบบได้มีบทบาทที่เกี่ยวกับยอดขายของสินค้า และต้องออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์กับทั้งผู้ผลิต รวมถึงกับตัวผู้บริโภคเองด้วย ซึ่งสิ่งสำคัญในการอกแบบบรรจุภัณฑ์ผู้ผลิตเองต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างแท้จริง ว่าออกแบบเพื่ออะไร และต้องออกแบบให้เหมาะกับสินค้านั้นๆด้วย

หลักในการออกแบบ

การออกแบบ ” Packaging “ สิ่งสำคัญเลยคือ ต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้า มีสีสันที่น่าดึงดูดสายตาและต้องมีรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่สะดวกต่อการใช้งาน เพื่อที่จะทำให้การกระจายสินค้าหรือการขนส่งสินค้า สามารถที่จะทำให้ลูกค้าเลือกซื้อได้อย่างดีและมีคุณภาพและที่สำคัญอีกย่างหนึ่ง ยังสามารถที่จะสร้างประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตได้

การบรรจุภัณฑ์ที่ทำออกมาให้มีความเหมาะสม ย่อมจะทำให้การขนส่งและการขายสินค้าต่างๆ สามารถที่จะทำให้ลูกค้าเลือกซื้อได้อย่างดีและมีคุณภาพ และที่สำคัญยังสามารถที่จะสร้างประสิทธิภาพต่อไปในอนาคตได้

Packing กับ Packaging ต่างกันอย่างไร 01

ในยุค 2020 บรรจุภัณฑ์ยังสำคัญไหม ?

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาไม่ใช่แค่ประเทศไทย แต่รวมไปถึงทุกๆ ประเทศได้เจอกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ของโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจต้องเปลี่ยนกลยุทธ์หลายๆ อย่างในการขายสินค้า จากออฟไลน์มาเป็นออนไลน์ หรือแม้แต่ธุรกิจร้านอาหาร จากการนั่งกินในร้านมาเป็นซื้อกลับบ้านแทน

นอกจากนี้แล้ว ซุปเปอร์มาร์เก็ตก็เริ่มมีบริการจัดส่งสินค้าให้ถึงบ้านเพิ่มมากขึ้น และนั่นเองก็ทำให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์ยังคงมีความสำคัญอยู่ในยุคปัจจุบันไม่เพียงแค่นั้น Packaging หรือบรรจุภัณฑ์ยังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้ต้องคำนึงถึงเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม แข็งแรงทนทาน เพื่อรักษาคุณภาพ และการปกป้องสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหายระหว่างการขนส่ง

เทรนด์ของยุคนี้เป็นการรณรงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจของเราใช้วัสดุกระดาษมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์แล้วละก็ เชื่อได้เลยว่าจะได้กระแสตอบรับที่ดีอย่างแน่นอน

การขนส่ง

ในเรื่องของการขนส่ง ก็เป็นเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างมากใช่กัน เพราะหากเราไม่ใส่ใจในเรื่องนี้อาจทำให้สินค้าเกิดความเสียหายได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้วจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเรื่องการขนส่งและเลือกบริษัทขนส่งที่เหมาะกับรูปแบบสินค้าของเราให้ดีก่อนตั้งแต่แรก ซึ่งการเลือกขนส่งที่ดีนั้น จะช่วยลดต้นทุนในเรื่องนี้ได้ หากว่าสินค้าหรือแพคคเกจจิ้งเกิดการเสียหายนั่นหมายถึงยอดขายที่ลดลงไปเลยก็ว่าได้ เพราะจริงๆ แล้วกล่องบรรจุภัณฑ์นั้นก็เปรียบเสมือนกับพนักงานที่ขายไร้เสียง ถ้าเราทำดีสินค้าที่อยู่ข้างในก็จะดีด้วย

แนวโน้มและเทรนด์ของบรรจุภัณฑ์ในอนาคต

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-friendly Packaging)

การใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้หรือวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recyclable materials) จะเป็นที่นิยมมากขึ้น บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ ไม้ หรือวัสดุจากพืช จะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การลดการใช้พลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้จะเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ

การใช้เทคโนโลยีในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความโดดเด่น น่าสนใจ

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น การพิมพ์สามมิติ (3D printing) หรือการใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและประสบการณ์ในการใช้สินค้า การใช้เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบรรจุภัณฑ์ได้มากขึ้น

การบูรณาการบรรจุภัณฑ์เข้ากับการตลาดออนไลน์

บรรจุภัณฑ์จะถูกออกแบบให้สอดคล้องกับการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น เช่น การใช้ QR code บนบรรจุภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถสแกนและเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า หรือโปรโมชั่นพิเศษ การทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามและมีความโดดเด่นเมื่อถูกถ่ายภาพและแชร์บนสื่อสังคมออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญ

นอกจากนี้การสร้างบรรจุภัณฑ์ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวหรือประสบการณ์ของแบรนด์ผ่านการออกแบบและวัสดุที่ใช้ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจและคาดว่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นในอนาคต การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในลักษณะนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์และผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

สรุป Packing กับ Packaging

Packing กับ ” Packaging “ จริงๆ แล้วความหมายของทั้งสองคำนี้ไม่ได้มีความความที่แตกต่างกันมากนัก หรืออาจจะเป็นคำเดียวกันเลยด้วยซ้ำ อยู่ที่ว่าใครจะเรียกใช้แบบไหน เพราะความหมายของมันก็คือ ภาชนะ หรือหีบห่อที่ป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดชำรุดเสียหายนั่นเอง แต่ในยุคนี้ความหมายของ Packing กับ Packaging นั้นไม่เพียงแค่เป็นสิ่งที่ห่อหุ้มสินค้าพียงอย่างเดียวแล้ว ยังต้องหมายถึง การออกแบบที่ดีมีคุณภาพ ทนทาน สวยงาม และให้ความโดดเด่น เพื่อดึงดูด หรือเพื่อกระตุ้นความต้องการซื้อให้กับสินค้าอีกด้วย

ดูตัวอย่าง Packaging กล่องสบู่ แนะนำสำหรับคนที่ต้องการทำกล่องแพคเกจ ออกแบบกล่องใส่สินค้า