เทคนิคการพิมพ์ออฟชั่นเสริมของบรรจุภัณฑ์


เทคนิคการพิมพ์ออฟชั่นเสริมของบรรจุภัณฑ์

ในทุกวันนี้นั้นบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ตามท้องตลาดทั่วไปนั้น เราก็มักจะเห็นรูปร่างและเทคนิคการออกแบบนั้นก็มักจะมีวิธีการที่มีความแตกต่างกันออกไปอย่างเห็นได้ชัดเลย โดยเทคนิคการพิมพ์นั้นก็ขึ้นอยู่กับอะไรหลายๆ สิ่งหลายๆ อย่างด้วยกัน เพราะคนที่ออกแบบนั้นก็จะมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามนั้นการที่เรามีการเลือกใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการออกแบบนั้นก็ย่อมจะทำให้บรรจุภัณฑ์ของเรานั้นออกมาดูดีและมีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก

ซึ่งแน่นอนการที่เราเพิ่มไอเดียต่างๆเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบต่างๆ นั้นก็ย่อมจะทำให้บรรจุภัณฑ์ของเราที่ได้ออกมามีความเหมาะสมและมีความลงตัวเป็นอย่างมากอีกด้วย ดังนั้นในการที่เรามีการหยิบนำเอาเทคนิคในการออกแบบต่างๆ ของบรรจุภัณฑ์เข้ามานั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้บรรจุภัณฑ์ของเรามีความสวยงามเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย

โดยความเหมาะสมนั้นก็จะเป็นเรื่องของคุณสมบัติต่างๆที่มันมีผลที่ดีต่อบรรจุภัณฑ์ของเราเป็นอย่างมาก ซึ่งในการใส่ไอเดียต่างๆ เข้าไปนั้นมันก็จะเป็นสิ่งที่เราจะต้องดูปัจจัยอื่นๆ เข้าร่วมด้วยเพราะมันอาจจะมีเรื่องต้นทุนหรืองบประมาณที่จะต้องเข้าเอามาพิจารณาด้วย ดังนั้นผุ้ที่ทำการออกแบบเวลาจะใส่ไอเดียหรือเทคนิคอะไรไปนั้นก็จะต้องดุในส่วนนี้ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

เทคนิคการพิมพ์หรือออฟชั่นเสริมของบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ นั้น ในทุกวันนี้ก็มีกระบวนการพิมพ์ต่างๆที่มีความหลากหลายเพิ่มมากยิ่งขึ้นเลย โดยการพิมพ์แต่ละแบบแต่ละรูปทรงนั้นก็มักจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งในแต่และแบบนั้นมันก็จะมีความสวยงามที่ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าแต่ละแบบมีการนำเอาไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ เข้ามาใช้นั้นก็ย่อมจะทำให้บรรจุภัณฑ์ของเรามีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เทคนิคในด้านการพิมพ์ที่นิยมใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ นั้นส่วนใหญ่แล้วก็ขึ้นอยู่กับแบบแม่พิมพ์ที่เราได้ทำออกมา โดยแต่ละระบบนั้นก็มักจะมีความแตกต่างกันออกไป โดยระบบการพิมพ์ที่นิยมใช้มากที่สุดก็จะมี 3 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน ก็คือระบบแม่พิมพ์พื้นนู้น ระบบแม่พิมพ์พื้นราบ และ ระบบแม่พิมพ์ร่องลึก โดยแต่ละชนิดนั้นก็จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน แต่จะมีความแตกต่างอย่างไรบ้างนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่า

  1. เทคนิคการพิมพ์ระบบถ่ายผ่านหรือพื้นนู้น ถือเป็นอีกหนึ่งการพิมพ์ที่พื้นผิวของแม่พิมพ์นั้นส่วนที่สูงกว่าเป็นส่วนที่รับน้ำหมักและการถ่ายโอนน้ำหมึกต่างๆ โดยการพิมพ์ในลักษณะแบบนี้นั้นที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นระบบ Flexography โดยในระบบนี้นั้นก็จะเป็นแม่พิมพ์ที่มักจะทำมาจากยางหรือโพลิเมอร์ที่มีความอ่อนตัวและมีความยืดหยุ่นที่สูงเป็นอย่างมากเลย โดยถ้าเทียบกับเมื่อก่อนในระบบการพิมพ์แบบโซกราฟี่นั้นก็ไม่ค่อยจะมีความละเอียดสักเท่าไรทำให้ได้คุณภาพของสีที่ไม่ค่อยดี เลยทำให้นิยมใช้สำหรับการพิมพ์ในกล่องลูกฟูก กล่องกระดาษแข็ง ถุงกระดาษ หรือซองพลาสติก และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ในทุกวันนี้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ก็ได้มีการพัฒนาไปเยอะเป็นอย่างมากเลยทำให้การพิมพ์ในระบบนี้นั้นก็เป็นไปได้ดีอีกด้วย และเป็นที่นิยม เนื่องจากถ้าหากมีไอเดียในการดีไซน์นั้นก็ทำให้มันมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  2. เทคนิคการพิมพ์ระบบพื้นราบ ถือเป็นระบบการพิมพ์ที่พื้นผิวของแม่พิมพ์เป็นพื้นราบหรือที่เรียกกันว่าเพลต โดยเพลตนั้นก็มักจะทำมาจากอลูมิเนียม โดยระบบการพิมพ์แบบนี้นั้นก็จะมีตัวกลางก็คือผ้ายาง แล้วถึงจะถ่ายทอดไปอีกวัสดุการพิมพ์อีกครั้ง โดยระบบการพิมพ์แบบนี้นั้นก็สามารถที่จะเลือกพิมพ์ได้ตั้งแต่ 1 สี จนถึง 8 สีอีกด้วย ขึ้นอยู่กับชนิดของแท่นพิมพ์ ซึ่งในการเลือกใช้เทคนิคอันนี้นั้นก็จะทำให้ชิ้นงานออกมามีคุณภาพที่สูงเป็นอย่างมากอีกด้วย ส่วนใหญ่แล้วนั้นการเลือกใช้ระบบการพิมพ์ชนิดนี้ก็จะนิยมพิมพ์พวกหนังสือ หรือ แคตาล็อคที่เน้นความสวยงาม
  3. เทคนิคการพิมพ์แบบระบบร่องลึก โดยเทคนิคการพิมพ์ในลักษณะแบบนี้นั้นก็จะเป็นการพิมพ์ที่พื้นผิวของแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นหลุมหรือเป็นบ่อลึก โดยจะใช้แรงกดให้น้ำหมึกนั้นติดไปที่แผ่นพิมพ์ โดยระบบการพิมพ์ชนิดนี้นั้นก็เหมาะกับการพิมพ์ชิ้นงานจำนวนเยอะๆ เพราะว่าแม่พิมพ์ชนิดนี้นั้นก็มีความคงทนที่สูงเป็นอย่างมาก แต่ถึงแม้ว่าจะมีความคงทนสักเท่าไรราคาก็มักจะสูงตาม อย่างไรก็ตามนั้นการพิมพ์แบบนี้นั้นก็เหมือนสำหรับงานพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อ่อนตัวได้ง่าย

นอกจากนี้นั้นด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ในบ้านเราที่มีการพัฒนาไปอย่างก้าวไกลนั้นก็ทำให้ระบบการพิมพ์ต่างๆ เป็นไปได้ดีเป็นอย่างมาก แถมยังทำให้ชิ้นงานหรือบรรจุภัณฑ์ของเรานั้นออกมาตรงกับความต้องการได้มากที่สุด ดังนั้นในอนาคตไม่แน่ว่าเทคโนโลยีการพิมพ์ที่เราใช้กันนั้นก็จะมีการพัฒนาที่จะตอบสนองต่อความต้องการและจะทำให้การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ก็สามารถที่จะทำได้ดีกว่านี้

อ่านบทความเพิ่มเติม>>ทำไมต้องมีการพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์