ฉลากสินค้าอัจฉริยะ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

ฉลากสินค้าอัจฉริยะ คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

ฉลากสินค้า

รับผลิต ซองฟอยล์ ถุงซิป ก้นตั้งราคาถูก รับพิมพ์งานด่วน

 

ฉลากสินค้า อัจริยะ หรือ RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นป้ายที่ สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตาม และบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์กล่อง หรือ สติ๊กเกอร์ติดสินค้า หรือสิ่งของใดๆ ฉลากสินค้าตัวช่วยในการสร้างแบรนด์ ซึ่งสามารถติดตามข้อมูลของวัตถุหนึ่งชิ้นว่าคืออะไร ผลิตที่ไหน ใคร เป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้นและแต่ละชิ้นมาจาก ที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งของวัตถุนั้นๆ ในปัจจุบันว่า อยู่ส่วนใดในโลกโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัสหรือเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน แถบป้าย RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดหลายอย่าง เช่น ความละเอียดเพราะ สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าจึงทำให้สามารถแยก ความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นได้ความเร็วในการ อ่านข้อมูลจากแถบป้าย RFID ยังรวดเร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า อีกทั้งยังสามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลายแถบ RFID สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้อง นำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมเหมือนการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด สามารถเขียนทับ ข้อมูลได้จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่า

ฉลากสินค้า อัจริยะ หรือ RFID เนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์ ระบบความปลอดภัยสูงกว่าทำให้ปลอมแปลงและลอกเลียนแบบได้ยาก นอกจากนี้ยังทนทานต่อความเปียกชื้นและการกระแทกอีกด้วย ฉลากอัจฉริยะที่บ่งชี้ (Indicators) คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ เริ่มจากช่วงแรกมีการพัฒนาฉลากเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาวะในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ เช่น อุณหภูมิ เวลา ก๊าซออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลทางอ้อมที่บ่งชี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ทำให้รู้ถึงระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์นั้นคงอยู่ได้ ฉลากอัจฉริยะแบบ Indicators บอกคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ทางอ้อม ขั้นตอนการกระจายสินค้าในระบบการค้ายุค ใหม่มีความซับซ้อนกว่าเดิมมาก ทำให้มีความสงสัยเกี่ยวกับการรักษาระดับอุณหภูมิในระหว่างการ กระจายสินค้า ซึ่งมีผลต่อคุณภาพของอาหารที่ผ่าน การแช่เย็นหรือแช่แข็ง ต่อมาจึงมีการพัฒนาฉลากบ่งชี้แบบที่บอกโดยการให้ข้อมูลที่ ชี้ชัดเจาะจงไปถึงองค์ประกอบต่างๆที่ถูกปลดปล่อย ออกมาจากผลิตภัณฑ์เมื่อผลิตภัณฑ์เกิดการเสื่อม สภาพ ตัวอย่างเช่น สารประกอบต่างๆ ที่ระเหยออก มาจากผลิตภัณฑ์ เช่น กรดที่เป็นสารอินทรีย์ แอลกอฮอล์ สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบ ซัลฟิวริก เชื้อแบคทีเรีย ท็อกซิน ฯลฯ เซ็นเซอร์ (Sensors) ได้แก่ เซ็นเซอร์ จุลินทรีย์ (Bio-sensors) และเซ็นเซอร์แก๊ส (Gassensors) ซึ่งฉลากสินค้าอัจริยะได้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

ฉลากบอกเวลา-อุณหภูมิ (Time-Temperature Indicators) หรือ TTI ซึ่งแสดง ถึงประวัติเวลาและอุณหภูมิของสินค้านั้นๆ จะช่วย คลายความสงสัยที่ว่านั้นได้ ฉลากแบบ TTI ในท้องตลาดมีอยู่หลาย ประเภทซึ่งจะใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน บางชนิดใช้ หลักการซึมของผงสีผ่านกระดาษกรอง ขณะที่บาง ชนิดใช้ถุงบรรจุแบคทีเรียเหลวซึ่งจะเปลี่ยนสีเมื่ออยู่ ในสภาวะที่อุณหภูมิและเวลามาถึงจุดที่ตั้งค่าไว้ บางชนิดใช้หลักการเกิดโพลิเมอร์ (polymerization) ของโมโนเมอร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการดูดกลืนแสง ทำให้สีเปลี่ยน หรือใช้การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ เมื่อมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ลดลงโดยใช้ เอนไซม์เป็นตัวเร่ง ประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับโดยตรงจากการใช้ ฉลากแบบ TTI คือ ความเชื่อมั่นในสินค้าว่าผ่านการ แช่แข็งมาดีพอทำให้มั่นใจในความสดของสินค้าโดยดู จากการเปลี่ยนสีของฉลากแทนวันที่แสดงวันหมด อายุของผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์

ฉลากที่บ่งบอกถึงการรั่วซึมของบรรจุภัณฑ์ โดยอาศัยปริมาณของออกซิเจนที่เหลืออยู่ใน ผลิตภัณฑ์ ฉลากนี้จะประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์กลุ่มที่ มีการปรับสภาพบรรยากาศภายใน (modified atmosphere packaging) โดยหลักแล้วตัวชี้บอก ปริมาณออกซิเจนประกอบด้วย สีย้อมที่มีประจุพร้อม สำหรับเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ (redox dye) เช่น เมทิลีนบลู (methylene blue) หรือ อาจใช้สาร ประกอบแอลคาไลน์ เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (sodium hydroxide) โดยการเคลือบสีหรือ สารประกอบนี้ไว้บนกระดาษหรือฟิล์มโพลิเมอร์และ นำไปติดที่บรรจุภัณฑ์ ถ้าบรรจุภัณฑ์นั้นมีปริมาณ ออกซิเจนซึมผ่านออกมาก็จะทำปฏิกิริยากับสีที่เคลือบไว้ทำให้ฉลากเกิดการเปลี่ยนสี ทั้งผู้ขายและผู้ ซื้อต่างก็สังเกตเห็นได้ง่ายว่าบรรจุภัณฑ์นี้อยู่ในสภาพปกติหรือไม่

ฉลากอัจฉริยะแบบอินดิเคเตอร์บอก คุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยตรง ฉลากสินค้า อัจฉริยะบ่งชี้ความสดใหม่ (freshness indicators) ช่วยบ่งบอกว่าผลไม้ที่บรรจุอยู่นั้น “สุก” อยู่ในระดับใดแล้ว คิดค้นโดยนักวิจัยชาวนิวซีแลนด์ และออกสู่ท้องตลาดเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ที่ผ่านมา เรียกว่า บรรจุภัณฑ์รับรู้ระดับความสุก (ripe sense packaging) ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของฉลากนี้คือ ช่วยป้องกันไม่ให้ผลไม้ถูกผู้บริโภคมือดีบีบเพื่อเลือก ผลไม้ และง่ายต่อพนักงานขายในการจัดวางสินค้า บนชั้นวาง และเก็บสินค้าที่หมดอายุออกจากชั้น การทำงานของฉลากรับรู้ระดับความสุก (Ripe Sense) จะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับกลิ่นหอมของ ผลไม้สุก ยิ่งถ้าสุกมากก็จะมีกลิ่นหอมออกมามากยิ่ง ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ฉลากเปลี่ยนสีไปตามระดับการสุก ของผลไม้นั้นๆ ในระยะแรก ทีมวิจัยได้ทำการพัฒนา ฉลากที่ตรวจวัดความสุกของลูกแพร์ก่อน เพราะลูก แพร์ที่วางขายทั่วไปนั้นดูว่าสุกได้ที่แล้วหรือยังยาก ทำให้ผู้ซื้อหลายคนต้องใช้วิธีรุนแรง เช่น ขูดเปลือก เอาเล็บจิก หรือบีบดูว่ามันนิ่มหรือแข็ง บางครั้งทำให้ ผลลูกแพร์บอบช้ำจนขายไม่ได้ การใช้ฉลากอัจฉริยะ มาช่วยพร้อมกับการออกแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ให้มี ลักษณะโค้งมนไปตามรูปร่างของลูกแพร์ทำให้ลูกแพร์ ไม่บอบช้ำอีกด้วย

 

 

อ้างอิง